ประวัติความเป็นมา (เหตุผลความจำเป็น)
มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ มีพันธกิจและบทบาทในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งระดับภูมิภาคและระดับสากล โดยดำเนินการตามมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา ภายใต้การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ที่นำการบริหารความเสี่ยงมาประยุกต์เป็นกลไกหลักของการบริหารจัดการภาครัฐ ให้สามารถมีข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่ดี สามารถดำเนินการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้องค์กร ทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนด การดำเนินกิจกรรม โครงการ สอดคล้องตามยุทธศาสตร์องค์กร ซึ่งรูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่นี้ มาจากกรอบของกฎหมายหลัก 2 ฉบับ ที่มีความเชื่อมโยงกัน คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 บัญญัติว่า “การบริหารราชการต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองตามความต้องการของประชาชน ทั้งนี้โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ” และ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มีเจตนารมณ์ เพื่อให้ส่วนราชการต้องปฏิบัติงาน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็น ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ ซึ่งการกำหนดพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 นี้ เป็นการนำหลักการแห่งเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ไปสู่การปฏิบัติ นอกจากการนำแนวคิดและหลักการของกฎหมาย 2 ฉบับข้างต้นมา เป็นกรอบการดำเนินงานแล้ว มหาวิทยาลัยยังมีการเชื่อมโยงกรอบแนวคิดของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 6 มาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา กล่าวถึง มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาโดยกำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้มีระบบบริหารคุณภาพที่สร้างความมั่นใจ พึงพอใจต่อผู้ปกครอง ชุมชน สังคม ว่าผู้จบการศึกษา มีคุณภาพมาตรฐานที่กำหนด โดยจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในและระบบประกันคุณภาพภายนอก และระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 ข้อ 5 “กำหนดให้หน่วยรับตรวจจัดวางระบบควบคุมภายใน โดยใช้มาตรฐานการควบคุมภายใน ตามระเบียบฯ ข้อ 6” ให้ผู้รับตรวจรายงานต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้กำกับดูแลและคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ภายใน 90 วัน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณ หรือปีปฏิทิน
จากหลักการความจำเป็นข้างต้น มหาวิทยาลัยรามคำแหงตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ที่ถือเป็นเครื่องมือทางกลยุทธ์ที่สำคัญตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีการดำเนินงานด้านบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ดังนี้
ปีงบประมาณ 2549 – 2553 | ดำเนินงานบริหารความเสี่ยง ตามมาตรฐานการควบคุมภายในของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2544 โดยจัดทำรายงานการควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยงในภาพรวมมหาวิทยาลัย รายงานต่อมหาวิทยาลัยและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน |
ปีงบประมาณ 2550 – 2553 |
|
ปีงบประมาณ 2554 – 2563 |
|
ปีงบประมาณ 2563 - ปัจจุบัน |
|
ตลอดเวลาที่ผ่านมา การดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน มหาวิทยาลัยรามคำแหง อยู่ภายใต้โครงสร้างกลไกการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ที่แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับมหาวิทยาลัย รับผิดชอบดำเนินการโดยคณะกรรมการ 2 ชุด คือ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในและคณะกรรมการดำเนินงานบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ระดับคณะ/สำนัก/สถาบัน/ศูนย์/กอง/สาขา ฯ รับผิดชอบโดยคณะกรรมการบริหารและดำเนินงานความเสี่ยงและการควบคุมภายในของคณะ/สำนัก/สถาบัน/ศูนย์/กอง/สาขาฯ และเนื่องจากการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเรื่องส่วนรวมทั่วทั้งองค์กรที่ทุกคนในองค์กร ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานทุกคนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์เชิงลึก เชิงบูรณาการ และเชื่อมโยงการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ แผนงาน กิจกรรม/โครงการ เพื่อวางแผนบริหารปัจจัยและควบคุมกิจกรรมดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อลดมูลเหตุของแต่ละโครงการในการเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบสร้างความเสียหายต่อองค์กรให้ระดับโอกาสและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยจึงควรจัดตั้งสำนักงานบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ให้เป็นหน่วยงานถาวรเพื่อรับผิดชอบดำเนินงานบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งสอดคล้องกับมติสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ในการประชุมครั้งที่ 14/2554 วาระที่ 5.13 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2554 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย เพื่อนำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะไปพัฒนาและดำเนินการต่อไป
ปัจจุบันนี้สำนักงานบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน เสนอขอปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนงานภายในให้สอดคล้องกับภารกิจ โดยขอยุบรวม ยุบเลิก และเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน ฝ่าย และหน่วยต่างๆ ภายในสำนักงานบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน และภารกิจใหม่ด้านธรรมาภิบาล ในการประชุมครั้งที่ 16/2563 วาระที่ 4.20 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 เป็น "สำนักงานธรรมาภิบาลและการบริหารความเสี่ยง"